ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

เทคนิคการเขียน SOP ที่ดี
ฉบับ University of Sussex

Updated 31. 08. 2021
5 mins read

การเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และจีน นอกจากเรื่องเกรดเฉลี่ยและคะแนนภาษาจะสำคัญแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ก็คือ SOP หรือ Statement of Purpose นั่นเอง…

พี่ ๆ Myadmissions เอาเคล็ดลับการเขียน SOP (Statement of Purpose) ที่ดี ฉบับย่อ จาก University of Sussex มาฝากทุกคนไว้เป็น Guideline ในการเขียนยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการกันค่ะ

Statement of Purpose หรือ SOP คืออะไร ?

Statement of Purpose หรือ SOP เป็นจดหมายแนะนำตัวเราเพื่อให้มหาวิทยาลัยรู้จักเรามากขึ้นนอกเหนือจากใบผลการเรียน เป็นการเขียนเพื่อแสดงความตั้งใจและอธิบายเหตุผลต่างๆ เพื่อจะได้รับคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่มุ่งหวัง ซึ่งหลายคนอาจจะมีผลการเรียน และเคยมีประสบการณ์คล้ายกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้โดดเด่นมากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็คือการเขียน Personal Statement อย่างไรให้โดนใจกรรมการนั่นเอง

SOP จะต้องแสดงให้เห็นว่าเราคือคนที่ใช่ของมหาวิทยาลัย และ SOP นี่เองก็อาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้เราได้ทั้งผลตอบรับ (Offer) หรือถูกปฏิเสธจากมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน

โดย University of Sussex แนะนำว่า การเขียน SOP ควรมี 3 ขั้นตอน คือ

1. วางแผนการเขียน SOP
2. ร่างโครงสร้าง SOP
3. ใช้ภาษาและเนื้อหาในเชิงโน้มน้าวและน่าสนใจ

3 ขั้นตอนในการเขียน Statement of Purpose หรือ SOP

1. วางแผนการเขียน SOP

SOP เป็นการเขียนบอกเกี่ยวกับความสนใจด้านการศึกษาของเรา ห้ามเขียนเรื่องชีวิตส่วนตัวเด็ดขาด

สิ่งที่ต้องทำคือ

  • ตรวจสอบว่าทางมหาวิทยาลัยนั้นๆ มีแบบฟอร์มหรือคำถามที่ต้องการให้ผู้สมัครเขียนเป็นพิเศษหรือไม่
  • ศึกษาข้อมูลหลักสูตรที่ต้องการจะเรียนต่อ ถ้าจะสมัครมากกว่า 1 หลักสูตร ห้ามใช้ SOP แบบเดียวกันในการสมัคร

หากมหาวิทยาลัยไม่ได้มีกำหนดแบบฟอร์มหรือคำถามพิเศษ ตัวอย่างคำถามเหล่านี้อาจช่วยในการวางแผนการเขียน SOP ได้ดีขึ้น

  • Why do you want to study Masters and how will it benefit you?
  • How does the course fit your skill set?
  • How do you stand out from the crowd – e.g. work experience?
  • What are you aspiring to be/do in your future career?
  • How can your work contribute to the department/University/society?

*คำแนะนำ : ถ้าสมัครเรียนหลักสูตร ป.โท สาขาที่ต่างจากหลักสูตร ป.ตรี ที่เคยเรียนมา ควรบอกเหตุผลว่า เพราะอะไรถึงตัดสินใจเปลี่ยนสาขาและการเปลี่ยนสาขาช่วยส่งเสริมอาชีพของเรา อย่างไร

2. รูปแบบ SOP (Structure)

หลายครั้งเราจะเกิดคำถามว่า แล้วเราจะวางโครงสร้าง SOP ของเราได้อย่างไร

โครงสร้างของ SOP นั้นก็จะคล้ายคลึงกับการเขียน Essay ในภาษาอังกฤษคือ มีบทนำ (Introduction) เนื้อหา (Content) และบทสรุป (Conclusion)

บทนำ (Introduction) ควรอธิบายความสนใจ ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของเรา เป็นหลัก (200-250 คำ)

  • ใช้โครงสร้างประโยคที่เราสามารถยืนยันความจริงที่เขียนไป โดยใช้หลักฐานประกอบให้เห็นภาพมากขึ้น การเขียนแบบนี้ เขียนโดยเริ่มพูดถึงประสบการณ์ทำงานและความสนใจทางวิชาการของเราก่อน
  • ห้ามเริ่มด้วยการใช้ประโยคเดิมๆหรือประโยคที่ใช้บ่อย เช่น ‘I have always wanted to study’ or ‘I feel I have always had a passion for this subject.’ เขียนบอกเลยว่าอะไรที่ทำให้เราอยากเรียนหลักสูตรนี้

เนื้อหา (Content) ใน SOP ควรจะ

  • ให้เหตุผลที่หนักแน่นว่าทำไมถึงอยากเรียนต่อหลักสูตรนั้นๆที่มหาวิทยาลัยนั้น อาจจะเป็นเหตุผลเกี่ยวกับอาชีพในอนาคต หรือเหตุผลเรื่องชื่อเสียงมหาวิทยาลัยก็ได้
  • พูดถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมถึง Projects วิจัย งานเขียน หรือประสบการณ์ทำงาน
  • ควรให้หลักฐานที่แสดงให้เห็นทักษะ เช่น ทักษะการวิจัย การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การจัดการ การวางแผนทั้งเรื่องงานและเวลา และแสดงให้เห็นว่าเรามีความรับผิดชอบต่องาน
  • แสดงให้เห็นว่าเราโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ
  • อธิบายว่าใครมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนต่อของเรา พร้อมให้เหตุผลประกอบ
  • เขียนประสบการณ์อื่นๆ เช่น เคยเป็นสมาชิกของสมาคมอะไร เคยได้รางวัลหรือทุนการศึกษาอะไรหรือไม่
  • เน้นเรื่องแรงจูงใจในอาชีพที่อยากทำหรือจะทำต่อ และแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรนั้นจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายด้านอาชีพนั้นได้อย่างไร

บทสรุป (Conclusion) ควรสรุปประเด็นหลักหรือใจความสำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จที่โดดเด่นและความต้องการที่จะเรียนต่อ

3. ใช้ภาษาและเนื้อหาในเชิงโน้มน้าวและน่าสนใจ

ภาษาควรจะเป็นภาษาที่แสดงถึงความกระตือรือร้น พร้อมที่จะเรียนรู้ และโน้มน้าวให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรามีความสามารถพอที่จะเรียนมหาวิทยาลัยนั้นได้

ควรจะ

  • ใช้การขึ้นย่อหน้าพารากราฟที่เชื่อมโยงกับบทนำและควรใช้รูปแบบภาษาและคำศัพท์ที่ทำให้เนื้อเรื่องของเราน่าอ่านและน่าสนใจ
  • เขียนตามหลักไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และคำสะกดให้ถูกต้อง
  • ใช้ภาษาที่ชัดเจนในประโยคสั้นๆ และหลีกเลี่ยงการเขียนเกินความเป็นจริง
  • หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องทั่วไป และพูดถึงเฉพาะเรื่องหลักสูตร

ยกตัวอย่าง

Don’t: ‘I was inspired by the University’s world-renowned researchers and world-leading facilities.’

Do: ‘I was inspired to study Animal Biology because of the groundbreaking work into the behaviour of bees that is being led by Sussex Professor Francis Ratnieks. I follow the work of the University of Sussex Laboratory of Apiculture and Social Insects and would be proud to study in such a renowned department and contribute to its highly ranked research.’

  • ตรวจสอบความถูกต้องของสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดและให้เพื่อนหรือญาติช่วยอ่านอีกที เพื่อเช็คความเข้าใจและความถูกต้อง  

 

สนใจเรียนต่อต่างประเทศ พร้อมรับคำปรึกษาเรื่องการเขียน SOP ฟรี! คลิก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก University of Sussex 

Facebook
Twitter
LinkedIn

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand

Views: 18,838