รู้จัก IELTS Speaking พร้อมเทคนิคและตัวอย่างข้อสอบ

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

รู้จัก IELTS Speaking
พร้อมเทคนิคและตัวอย่างข้อสอบ

Updated 20. 01. 2021
3 mins read

 

วันนี้พี่ ๆ Myadmissions จะพามาทำความรู้จัก ข้อสอบ IELTS Speaking กันว่า มีพาร์ทอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไง พร้อมเทคนิคและตัวอย่างข้อสอบที่น้อง ๆ สามารถนำไปฝึกตามได้ไม่ยาก!

 

10 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนสอบ IELTS Speaking

 

1. การสอบ Speaking เป็นการสอบพูดกับเจ้าของภาษาตัวต่อตัวในห้องสอบ

2. ข้อสอบ Speaking สอบแบบเดียวกันหมดทั้ง IELTS Academic และ General Training

3. ถึงจะสอบ IELTS ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ก็ต้องสอบพูดตัวต่อตัวกับเจ้าของภาษาผ่านทางคอมพิวเตอร์

4. การสอบ IELTS speaking มีการบันทึก vdo ระหว่างสอบไว้ หากสงสัยเรื่องคะแนน น้อง ๆ สามารถขอตรวจสอบและดูย้อนหลังได้

5. การสอบ IELTS Speaking เป็นการสอบพูดแบบไม่เป็นทางการ (Informal)

6. ผู้ให้คะแนนพาร์ท Speaking คือเจ้าของภาษาคนที่เราสอบด้วย

7. IELTS Speaking ใช้เวลาสอบเพียง 11-14 นาที 

8. เจ้าหน้าที่คุมสอบ เป็นผู้ควบคุมเวลาและความยาวในการพูดของเรา

9. IELTS Speaking มี 3 พาร์ท

  • Part 1 : Questions & Answers ใช้เวลา 4-5 นาที
  • Part 2 : พูดคุยกับเจ้าของภาษา 1-2 นาที
  • Part 3 : Discussion 4-5 นาที

10. เกณฑ์การให้คะแนน

  • Fluency & Cohesion (25%) 
  • Vocabulary (25%)
  • Grammar (25%)
  • Pronunciation (25%)


ตัวอย่างหัวข้อและคำถาม IELTS Speaking (อัพเดท ปี 2020)

Part 1

เวลาสอบ 4-5 นาที

12 คำถาม จาก 3 หัวข้อ เกี่ยวกับตัวเรา

ตัวอย่างหัวข้อ

  • Work
  • Study
  • Childhood
  • Internet
  • Happiness

ตัวอย่างคำถาม

  • What is your job?
  • Do you plan to get a job in the same field as your subject?
  • Did you have a lot of friends when you were a child?
  • What usually makes you happy?
  • Do you think children should be allowed unsupervised access to the internet?

Part 2

ผู้สอบจะได้รับการ์ดที่มี Topic มาให้ โดยมีเวลา 1 นาทีในการเตรียมตัวพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้มา และต้องพูดประมาณ 1-2 นาที เมื่อได้หัวข้อมาแล้ว ให้รีบคิดให้เร็วที่สุด ผู้คุมสอบจะบอกว่าให้เริ่มพูดตอนไหน พยายามพูดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หัวข้อส่วนมาก จะเกี่ยวกับตัวเราหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา

ตัวอย่างหัวข้อ

  • News
  • Old people
  • Respect
  • Unexpected
  • Vocation

ตัวอย่างโจทย์

  • Describe some good news you recently received.
  • Describe an old person you know.
  • Describe someone you respect.
  • Describe an expected event.
  • Describe a vocation you think is useful to society.

สิ่งที่เราควรอธิบาย ในโจทย์ Describe a vocation you think is useful to society.

  • What it is
  • What it involves
  • What kind of people usually do this work
  • Explain why you think it is useful to society

Part 3

พาร์ท Discussion 4-5 นาที

ในพาร์ทนี้ผู้คุมสอบจะถามเราเกี่ยวกับหัวข้อที่เราเพิ่งพูดไปในพาร์ทที่ 2 ซึ่งเราต้องอธิบายคำตอบของเราเพิ่มเติม พร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน

ตัวอย่างคำถาม

  • Do you believe everything you read in the newspaper?
  • What social problems are there in your country?
  • Do you think job satisfaction is more important than salary when choosing a job?
  • What is the difference between white collar and blue collar jobs?
  • Do you think computers will one day replace teachers in the classroom?


Tips

1. อย่าจำคำตอบ ไปตอบ

อย่าจำคำตอบไปตอบ โดยเฉพาะพาร์ท 1 เพราะจะทำให้เราพูดไม่เป็นธรรมชาติ และผู้คุมสอบอาจตีความได้ว่าเราไม่สามารถสื่อสารได้ อาจทำให้เราโดนหักคะแนนไปง่าย ๆ

 

2. ห้ามใช้คำศัพท์ที่เราไม่คุ้นชินและไม่เคยใช้ อาจทำให้สื่อสารผิดพลาด

เราอาจจะอยากโชว์สกิลคำศัพท์สวย ๆ หรือประโยคซับซ้อน ให้ผู้คุมสอบเห็น แต่พี่ ๆ แนะนำให้เลี่ยงการใช้คำศัพท์หรือประโยคที่เราไม่คุ้นชินจะดีกว่า เพราะมีโอกาสสูงที่เราอาจสื่อสารผิด ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียง หรือใช้คำศัพท์ผิดบริบท และความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ก็อาจส่งผลกับคะแนนของเรา ดังนั้น เลี่ยงดีกว่าค่ะ  

 

 3. พยายามใช้ประโยคหลาย ๆ แบบ ทั้งแบบ Complex / Simple และใช้ให้ถูกต้อง

ลองใช้ประโยคหลาย ๆ แบบ หากอยากใช้ประโยคที่เราไม่คุ้นชินจริง ๆ ให้ลองพูดกับเพื่อนดูว่าเพื่อนเข้าใจเราหรือไม่ หรือลองพูดแล้วอัดวิดีโอเก็บไว้ดูว่าเราพูดผิดตรงไหนบ้าง จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้น การฝึกพูดเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยใช้ Tense และโครงสร้างประโยคให้ถูกต้องนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรฝึกบ่อย ๆ ให้คุ้นชิน เวลาสอบจะได้พูดได้ถูกต้องและเป็นธรรมชาติ

 

4. อย่ากังวลเรื่องสำเนียง

การสอบ Speaking เป็นการสอบตัวต่อตัว แน่นอนว่าเราอาจจะเขิน เกร็ง ทำให้ไม่ทันนึกถึงเรื่องสำเนียง แต่ผู้คุมสอบเข้าใจค่ะ ขอแค่เราสามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ก็พอ ไม่ต้องกังวลเรื่องสำเนียง แต่ให้พยายามใช้เสียงต่ำ เสียงสูงในการพูด อย่าใช้เสียง Monotone เพราะภาษาอังกฤษคือภาษาที่ต้องเน้นเสียงหนัก-เบา ตั้งแต่ระดับคำไปจนถึงประโยค ดังนั้นการเน้นเสียงผิดหรือพูดเสียง monotone ก็อาจเปลี่ยนความหมายหรือเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารไปเลยก็ได้

 

5. ไม่ต้องรีบ หยุดคิดคำตอบก่อนก็ได้

การขอเวลาหยุดคิดคำตอบสักแปปหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ ระหว่างการสอบ Speaking เราสามารถขอเวลาคิดคำตอบกับผู้คุมสอบได้ โดยใช้ประโยคเหล่านี้

  • Let me see
  • That’s an interesting question
  • I have never thought about that, but…
  • That’s a good point
  • Let me think about that for a minute
  • That’s a difficult question, but I’ll try and answer it
  • Well, some people say that is the case, however I think…

 

6. เลี่ยงการใช้คำฟุ่มเฟือย (Filler words)

หากนึกคำตอบไม่ออกจริง ๆ อย่าใช้คำฟุ่มเฟือย (Filler words) เช่น Like, You know, Ummm, Ahhh, Ehhh, Yeah เพราะจะทำให้ผู้คุมสอบเข้าใจว่าเราตอบคำถามไม่ได้ และไม่สามารถใช้ภาษาที่เหมาะสมได้อีกต่างหาก ดังนั้น ให้ใช้ประโยคที่แนะนำไปในข้อที่ 5 ดีกว่าค่ะ  

 

7. อย่าถามคำตอบคำ ตอบให้เป็นประโยค พยายามอธิบายคำตอบของเราให้ได้มากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน

หากเราตอบคำถามสั้นเกินไป เช่น Yes, No, Ok แบบนี้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ได้ ถ้าผู้คุมสอบถามว่า Why? แสดงว่าเขาอยากได้เหตุผลและความเห็นของเราด้วย ดังนั้น เราต้องอธิบายคำตอบให้ชัดเจนนะคะ 

 

8. การยิ้มช่วยให้มั่นใจ และสำเนียงดีขึ้น!

การยิ้มช่วยคลายความกังวล และสร้างความมั่นใจให้เราได้มากขึ้น และความมั่นใจก็ช่วยให้การออกเสียงของเราดีขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเรายิ้ม ปากจะกว้างขึ้น ออกเสียงได้ชัดเจนและโทนเสียงก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นระหว่างสอบ ยิ้มเข้าไว้นะคะ

 

9. อย่าพูดด้วยน้ำเสียง monotone

การพูดด้วยเสียง monotone ไม่มีเสียงหนัก เบา ทำให้ผู้ฟังไม่รู้ว่าประโยคไหนสำคัญ และทำให้การสนทนาน่าเบื่อ ดังนั้น ให้เราพูดเน้นคำหรือประโยคที่สำคัญ และอย่าพูดรวดเดียวจบ เว้นจังหวะการพูดด้วย เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกอยากฟังและคุยกับเราต่ออย่างไม่น่าเบื่อ จำไว้ว่า

  • อย่าพูดเสียง monotone
  • ให้พูดเน้นเสียงหนักเมื่อพูดถึงคำหรือประโยคสำคัญ
  • ใช้มือเพื่อแสดงท่าทางไปด้วยระหว่างพูด เพื่อไม่ให้เกร็งและช่วยให้บทสนทนาไม่น่าเบื่อ

 

10. ฝึกอธิบายหัวข้อจากข้อสอบ IELTS หลาย ๆ หัวข้อ ตามที่แนะนำไป ยิ่งรู้หลายหัวข้อ ยิ่งทำให้เรามีข้อมูลไปคุยตอนสอบมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวล

 

หลังจากรู้จักข้อสอบ IELTS Speaking และได้เทคนิคการสอบไปแล้ว อย่าลืมไปฝึก IELTS Writing และพาร์ทอื่น ๆ ด้วยนะคะ จะได้ทำคะแนนได้ดีในทุก ๆ พาร์ท น้อง ๆ สามารถเข้าไปฝึกสกิล IELTS จาก 6 เว็บไซต์ ฟรี! เรียน IELTS ด้วยตัวเอง ได้เลยค่ะ นอกจากนี้ น้อง ๆ ยังสามารถฝึกสกิล IELTS ได้จากกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชอบ ได้ด้วยนะคะ ยังไงก็แนะนำให้ฝึกบ่อย ๆ รับรองว่าการสอบ IELTS ให้ได้คะแนนที่หวังนั้น เป็นไปได้แน่นอนค่ะ

 

สนใจเรียนต่อต่างประเทศหรือขอคำปรึกษาฟรี! คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก IELTS Liz และ IELTS IDP 

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand