5 เรื่อง (ไม่) ลับ เกี่ยวกับ Boston

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

5 เรื่อง (ไม่) ลับ เกี่ยวกับ Boston

Updated 12. 02. 2021

3 min read

 

หลายคนคงรู้จัก Boston หนึ่งในเมืองที่เจริญที่สุดใน USA และยังเป็นเมืองแห่งการศึกษาอีกด้วย เพราะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Havard University และ MIT แต่มีสิ่งที่น้อง ๆ อาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเมือง Boston พี่ ๆ Myadmissions เลยเอา 5 เรื่อง (ไม่) ลับ เกี่ยวกับเมืองบอสตันมาฝากค่ะ

 

1. ชื่อเมือง Boston ถูกตั้งตามชื่อเมือง Boston ในอังกฤษ

 

2. เมือง Boston มีชื่อเล่นว่า “Beantown” เพราะมีชื่อเสียงเรื่อง Baked Beans หรือถั่วอบในซอสโมลาส

 

3. Boston เมืองแห่งคำว่าครั้งแรก!

 

  • Boston Common สวนสาธารณะแห่งแรกของ USA สร้างขึ้นที่ Boston
  • Boston Latin โรงเรียนแห่งแรกของ USA สร้างขึ้นที่ Boston
  • Harvard University มหาวิทยาลัยแห่งแรกของ USA อยู่ที่ Boston
  • Tremont Street Subway รถไฟใต้ดินแห่งแรกของ USA อยู่ที่ Boston  
  • Revere Beach ชายหาดสาธารณะแห่งแรกของ USA อยู่ที่ Boston

 

4. คุณภาพชีวิตดี ๆ หาได้ที่ Boston

 

Boston เป็นหนึ่งในเมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดใน USA โดย Deutshe Bank ยกให้ Boston เป็นเมืองอันดับ 8 ของโลกด้านคุณภาพชีวิตที่ดี และสำนักข่าว Money ก็ยกให้ Boston เป็นสถานที่ดีที่สุดใน USA ในการใช้ชีวิต ดูได้จากเศรษฐกิจของเมือง กิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีให้ทำไม่รู้เบื่อ รวมถึงคุณภาพการศึกษาระดับโลก 

 

5. Boston เมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “เมืองแห่งการศึกษา” 

 

โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ด้าน Best Student Cities และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยระดับโลก รวมถึงโรงเรียนภาษาหลายแห่ง

 

 มหาวิทยาลัยใน Boston 

 

  • Suffolk University
  • Northeastern University
  • Hult International Business School
  • University of Massachusetts Boston (UMass Boston)

 โรงเรียนภาษาใน Boston

 

  • FLS International
  • TALK English Schools
  • NESE Boston

 

Boston เป็นอีกหนึ่งเมืองที่น่าเรียนมาก ๆ เพราะนอกจากจะเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีอันดับต้น ๆ ของโลกแล้ว ยังเป็นเมืองแห่งการศึกษาด้วย โดยมีโรงเรียนภาษาคุณภาพและมหาวิทยาลัยระดับโลกตั้งอยู่มากมาย อีกทั้งยังมีทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างชาติด้วย หากใครอยากไปเรียนที่ บอสตัน คลิก สอบถามพี่ ๆ Myadmissions ได้เลยค่ะ

 

สนใจเรียนต่อต่างประเทศหรือขอคำปรึกษาฟรี! คลิก 

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand

5 มหาวิทยาลัยระดับโลก ด้าน Financial Technology (FinTech)

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

5 มหาวิทยาลัยระดับโลก
ด้าน Financial Technology (FinTech)

 Updated 26. 11. 2021

3 min read

 

ปฎิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพราะหลายบริษัทมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องธุรกิจและการเงินกันมากขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้าน Financial Technology (FinTech) กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก ใครที่มีสกิลด้าน FinTech ถือว่าได้เปรียบสุด ๆ 

ดังนั้นการไปเรียนต่อด้าน FinTech นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ๆ ในยุคนี้ พี่ ๆ Myadmissions มี 5 มหาวิทยาลัยระดับโลกด้าน Financial Technology มาแนะนำค่ะ ใครอยากอัพสกิลและเพิ่มโอกาสในการทำงาน ต้องมาดู!

 

1. University of Exeter 

  • มหาวิทยาลัย Top 15 ของ UK และ Top 150 ของโลก
  • Business School มาตรฐาน Triple Accreditation (AACSB, EQUIS และ AMBA)
  • คุณภาพการเรียนการสอนระดับเหรียญทอง (TEF Gold)
  • หนึ่งในสมาชิก Russell Group กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK

หลักสูตร 

  • MSc Financial Technology (Fintech)

ตัวอย่างรายวิชาน่าสนใจ 

  • Applied Econometrics   
  • Financial Modelling     
  • Advanced Financial Technology       
  • International Banking Law        
  • Banking and Financial Services
  • Programming for Business Analytics
  • Marketing Strategy        
  • Financial Instruments

ค่าเทอม 

  • £20,100/ปี

 

2. University of Birmingham 

  • มหาวิทยาลัยอันดับ 21 ของ UK และอันดับ 87 ของโลก
  • หนึ่งในสมาชิก Russell Group กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK
  • Business School มาตรฐาน Triple Accreditation

หลักสูตร 

  • MSc Financial Technology

ตัวอย่างรายวิชาน่าสนใจ 

  • Corporate Finance 
  • Portfolio Theory and Investment Analysis 
  • Programming in Python
  • Big Data Management in Finance 
  • BlockChain Technologies, Financial Applications and Cyber Security
  • Data Analysis and Visualisation
  • Private Equity and Venture Finance
  • Risk Management in Financial Markets

ค่าเทอม 

  • £29,000/ปี

 

3. University of Reading 

  • มหาวิทยาลัยอันดับ 27 ของ UK และ Top 200 ของโลก
  • Business School มาตรฐาน Triple Accreditation

หลักสูตร 

  • Masters in Finance and Financial Technology (FinTech)

ตัวอย่างรายวิชาน่าสนใจ 

  • Digital Banking and Payment System
  • Programming for Fintech (Python)
  • Machine Learning and Big Data in Finance 
  • Blockchain, Cryptocurrencies and applications 
  • Financial Econometrics 
  • Portfolio Management 
  • Liquidity Risk and Algorithmic Trading
  • Business Intelligence and Data Mining
  • Big Data Analytics 

ค่าเทอม 

  • £24,900/ปี

 

4. Loughborough University 

  • มหาวิทยาลัยอันดับ 7 ของ UK และ Top 200 ของโลก
  • ได้รับรางวัล University of The Year จาก WhatUni Student Choice 2020
  • Business School มาตรฐาน Triple Accreditation
  • คุณภาพการเรียนการสอนระดับเหรียญทอง (TEF Gold)

หลักสูตร 

  • MSc Digital Finance

ตัวอย่างรายวิชาน่าสนใจ 

  • Financial Technologies
  • Principles of Data Science 
  • Digital Application Development
  • Digital Technologies for Market Analysis 
  • Information Systems Security 
  • Advanced Big Data Analytics 
  • Gaming technologies & systems 
  • Strategy and Planning

ค่าเทอม 

  • £26,500/ปี

 

5. Queen Mary University of London 

  • Top 20 ของ UK และอันดับ 114 ของโลก
  • หนึ่งในสมาชิก Russell Group กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK

หลักสูตร 

  • MSc Financial Computing 

ตัวอย่างรายวิชาน่าสนใจ 

  • Financial Instruments and Markets 
  • Advanced Computing in Finance 
  • Trading and Risk Systems Development 
  • Programming in C++ for Finance 
  • Financial Data Analytics 
  • Artificial Intelligence
  • Functional Programming 
  • Machine Learning with Python

ค่าเทอม 

  • £24,950/ปี

 

 สนใจเรียนต่อ Financial Technology ที่ประเทศอังกฤษ คลิก

Facebook
Twitter
LinkedIn

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand

Categories
Uncategorized

Graduate Pathway ต่างจาก Pre-sessional English อย่างไร

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

Pathway​ คืออะไร การันตีเข้ามหาวิทยาลัยจริงหรือไม่ ต่างจาก​ Pre​-sessional​ English​ อย่างไร

น้อง ๆ หลายคนอยากเรียนต่อต่างประเทศ แต่ยังมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเกรดเฉลี่ย คะแนนภาษา สายการเรียนที่เคยเรียนมาไม่ตรงกับหลักสูตร ไม่มีประสบการณ์ทำงาน หรือยังไม่มีคะแนน GMAT หรือ GRE ทำให้ไม่สามารถเข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ 

ดังนั้น หลายมหาวิทยาลัยทั้งในอังกฤษและอเมริกา จึงเปิดหลักสูตร Pathway และ Pre-sessional English เพื่อช่วยให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการมากขึ้น แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักหลักสูตร Pathway และ Pre-sessional English กันก่อนว่าสองหลักสูตรนี้คืออะไร ต่างกันยังไง และการันตีเข้ามหาวิทยาลัยจริงหรือไม่ 

 

หลักสูตร Pathway คืออะไร 

Pathway เป็นหลักสูตรเพื่อปรับพื้นฐานสำหรับนักเรียนต่างชาติ ทั้งในส่วนของวิชาในหลักสูตรนั้น ๆ  ภาษาอังกฤษ และ Skills สำหรับการเรียน  เช่น การเขียน Research Proposal หรือการเขียนในเชิงวิชาการอื่น ๆ รวมไปถึงน้องๆจะได้ใช้เวลาในช่วงเรียน pathway ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ผู้คนและวัฒนธรรมใหม่ในประเทศนั้นๆ

โดยการเรียน Pathway นั้น มีสำหรับทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยจะมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันตามสถาบันที่ปรับพื้นฐาน โดยในระดับปริญญาตรีจะมีชื่อเรียกว่า International Year One (IYO), International Foundation, Undergraduate Pathway เป็นต้น ในระดับปริญญาโทจะมีชื่อเรียกว่า Graduate Pathway, Graduate Diploma หรือ Pre Master’s  ทั้งหมดนี้ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่หัวใจของการเรียนจะมีความเหมือนกัน คือเน้นในเรื่องของการเตรียมนักเรียนต่างชาติ ให้พร้อมเข้าเรียนกับนักเรียนประเทศนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด 

การเรียน Pathway นั้นในบางครั้งจะมีการลงวิชาของหลักสูตรป.ตรีหรือป.โทไว้ในหลักสูตร Pathway อีกด้วย นั่นแปลว่าเมื่อน้อง ๆ เข้าไปเรียนในระดับปริญญาตรีหรือโท ก็ไม่จำเป็นต้องลงเรียนวิชาที่ได้เรียนไปตอน Pathway อีกแล้ว ทำให้บางครั้งก็สามารถลดระยะเวลาการเรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ได้

 

ตัวอย่างวิชาเรียนของ Pathway 

  • หลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วไป (General English)
  • Academic English
  • Research and Presentation skills
  • Subject knowledge (วิชาเฉพาะทาง ตามหลักสูตรปริญญาที่เราต้องการเรียนต่อ เช่น วิชา Business and Finance)

 

หลักสูตร Pathway เหมาะกับใคร 

  • เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเปลี่ยนสายการเรียนจากตอนที่เรียนป.ตรีมา 
  • น้อง ๆ ที่มีเกรดเฉลี่ยและคะแนนภาษาไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด 

 

ระยะเวลาในการเรียน Pathway

ระยะเวลาการเรียน Pathway นั้นจะแบ่งเป็นเทอม โดยมีตั้งแต่ 1-3 เทอม ขึ้นอยู่กับระดับ GPA และผลวัดระดับภาษา

 

เรียน Pathway การันตีเข้ามหาวิทยาลัยจริงหรือไม่ 

หากน้อง ๆ สามารถสอบได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยระบุอยู่ใน Offer ของหลักสูตร Pathway ก็จะสามารถที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ได้เลย

 

ข้อควรระวังสำหรับการเรียน Pathway 

จะเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ขึ้นอยู่กับผลการเรียนของน้อง ๆ หากผลการเรียนผ่านเกณฑ์ Pathway ก็จะการันตีเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการได้อย่างแน่นอน แต่หากผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ Pathway น้อง ๆ ก็ไม่สามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ เพราะฉะนั้นน้อง ๆ ก็ต้องตั้งใจเรียนเพื่อให้สอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ 

 

หลักสูตร Pre-sessional English คืออะไร

Pre-sessional English คือหลักสูตรการเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ก่อนเข้าเรียนในระดับปริญญา แต่ยังติดเงื่อนไข (Conditional Offer) คะแนนภาษาอังกฤษ หรือ IELTS ไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด 

 

หลักสูตร Pre-sessional English เหมาะกับใคร 

เหมาะกับน้อง ๆ ที่มีคะแนนภาษาหรือ IELTS ไม่ถึงเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย หรือ น้อง ๆ ที่ต้องการพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองก่อนเข้าเรียนในระดับปริญญา

 

ระยะเวลาในการเรียน Pre-sessional English 

ประมาณ 1 – 4 เดือน

 

ข้อควรระวังสำหรับการเรียน Pre-sessional English

โดยส่วนใหญ่การเข้าเรียน Pre-sessional English นักเรียนจะสามารถสอบผ่านเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาได้อยู่แล้ว แต่น้อง ๆ จำเป็นที่จะต้องเข้าเรียนให้ครบและทำ Assignments ตามที่อาจารย์สั่งให้ครบถ้วน เพราะถ้าหากน้องสอบ Pre-sessional English ไม่ผ่าน ก็จะทำให้ชวดการเข้าเรียนระดับปริญญาในเทอมนั้น ๆ ได้เลย 

จากข้างต้นเราจะเห็นว่า ทั้ง Pathway และ Pre-Sessional English นั้น จริงๆ แล้วมีวัตถุประสงค์ของการเรียนที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก แต่ทั้งสองสิ่งนั้นจะมีความเหมือนกันคือในเรื่องที่ว่าไม่ว่าน้อง ๆ จะเรียน Pathway หรือ Pre-Sessional English น้อง ๆ จะต้องมีความตั้งใจและศึกษา Conditions การเรียนของตัวเองอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ ต้องการได้อย่างราบรื่นค่ะ 

 

หากน้อง ๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศ Pathway หรือ Pre-Sessional English สามารถติดต่อพี่ ๆ Myadmissions ได้ ที่นี่ 

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand

7 ขั้นตอนเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

02 120 9646

094 512 6155

info@myadmissions.net

7 ขั้นตอน เรียนต่อป.โทต่างประเทศ

 Updated 25. 08. 2021

3 min read

 

ช่วงนี้มหาวิทยาลัยในอังกฤษ อเมริกา และออสเตรเลีย เริ่มเปิดรับนักศึกษาปี 2022 แล้ว แถมยังมีทุนการศึกษาให้มากมาย น้อง ๆ หลายคนอาจจะอยากลองสมัครดู แต่ไม่รู้ว่าจะสมัครยังไง ต้องเริ่มจากอะไร มาดู 7 ขั้นตอน เรียนต่อป.โท ต่างประเทศกันค่ะ

 

 

1. หาข้อมูล ตั้งคำถาม และปรึกษาพี่ ๆ Myadmissions

  • หาข้อมูลมหาวิทยาลัยที่อยากไป
  • หาข้อมูลหลักสูตรที่อยากเรียน
  • หาข้อมูลประเทศที่จะไป ทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ
  • หาข้อมูลทุนการศึกษาและค่าเทอม
  • เงื่อนไขการสมัครเรียนต่อ

 โดยข้อมูลต่าง ๆ ข้างต้น สามารถปรึกษากับ Educational Counselor ของ Myadmissions ได้ที่นี่เลย

 

 2. สมัครสอบภาษาอังกฤษ IELTS หรือ TOEFL

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นมักมีเงื่อนไขในการยื่นผลภาษา ณ ขณะที่สมัครเรียน เพราะฉะนั้นน้อง ๆ จำเป็นที่จะต้องมีผลวัดระดับภาษาล่วงหน้า

ในขณะเดียวกันหากเป็นการสมัครเข้าเรียนต่ออังกฤษ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ อนุโลมให้ผู้สมัครสามารถยื่นคะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษตามหลังได้ 

เนื่องจากแต่ละประเทศมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน น้อง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเรียนต่อล่วงหน้าเป็นอย่างดี โดยสามารถปรึกษาพี่ ๆ Myadmissions ถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ที่นี่

 

3. เตรียมเอกสารให้ครบ

เมื่อได้มหาวิทยาลัยและประเทศที่ต้องการเรียนต่อแล้วให้เตรียมเอกสารอื่น ๆ ได้เลย เช่น

  • Transcript หรือใบผลการเรียนจากทางมหาวิทยาลัย 
  • Letters of recommendations จดหมายแนะนำจากทางอาจารย์หรือหัวหน้างาน 
  • เอกสารรับรองทางการเงิน (financial statement) เอกสารรับรองจากทางธนาคารว่าน้อง ๆ มีเงินเพียงพอที่จะเรียนต่อได้
  • SOP (Statement of purpose) หรือจดหมายแนะนำตัวให้มหาวิทยาลัยรู้จัก
  • Resume / CV
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบประกาศนียบัตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่จะสมัคร

📍 เรียนต่อ ป.โท ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ดูได้ที่นี่

 

4. เตรียมตัวสมัครเรียน

เมื่อมีเอกสารครบแล้ว น้อง ๆ สามารถสมัครเรียนและยื่นเอกสารทั้งหมดให้ทางมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าเรียนได้เลย หลังจากยื่นเอกสารทั้งหมดแล้ว ก็รอผลตอบรับ (Offer) จากมหาวิทยาลัยประมาณ 2-3 สัปดาห์ค่ะ หรือหากน้อง ๆ เลือกสมัครมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนผู้สมัครมาก อาจจะใช้เวลานาน 2-3 เดือนเลยค่ะ

📍 หมายเหตุ

  • ก่อนสมัครเรียน อย่าลืมดู Deadline ของมหาวิทยาลัยด้วยนะคะว่าหมดเขตรับสมัครเมื่อไหร่
  • น้อง ๆ สามารถสมัครเรียนได้มากกว่า 1 มหาวิทยาลัย
  • ในบางมหาวิทยาลัยและบางคณะ มีการเก็บค่าธรรมเนียมการสมัคร (Application fee)

 

5. ฝึกภาษาอังกฤษ เตรียมความพร้อมก่อนไปเรียนต่อ

ระหว่างรอ Offer หรือใครที่ได้ Offer แล้ว แนะนำให้ฝึกภาษาอังกฤษทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน เตรียมไว้เลยค่ะ เมื่อเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยจะได้เข้าใจสิ่งที่อาจารย์สอน และสามารถคุยกับเพื่อนต่างชาติได้อย่างมั่นใจด้วยค่ะ 

 

6. ทำวีซ่าและซื้อตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า

หลังจากได้รับ Offer จากมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ถึงเวลาทำวีซ่านักเรียน และจองตั๋วเครื่องบินค่ะ

แนะนำให้รีบทำวีซ่าก่อนอันดับแรก เพราะการขอวีซ่า ใช้เวลาค่อนข้างนาน ตั้งแต่ 15 วันทำการ จนถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับประเทศที่ต้องการศึกษาต่อ และเมื่อได้วีซ่าแล้ว แนะนำให้จองตั๋วเครื่องบินเลย เพื่อให้ได้ราคาตั๋วที่ไม่แพงเกินไปและแนะนำให้บินไปก่อนเปิดเรียน เพื่อปรับตัวก่อนเข้าเรียนจริงค่ะ

 

7. เตรียมตัวเดินทางไปเรียนต่อ!

ก่อนออกเดินทาง อย่าลืมแลกเงิน เปลี่ยนซิมโทรศัพท์ ทำประกัน และเตรียมตัวเตรียมใจไปเรียนต่อ เมื่อเสร็จแล้วก็พร้อมลุยได้เลยค่ะ หากมีข้อสงสัย หรืออยากได้คำแนะนำ ติดต่อพี่ ๆ Myadmissions ได้ที่นี่เลยค่ะ

 

สนใจเรียนต่อต่างประเทศ หรือขอคำปรึกษาฟรี! คลิก

Facebook
Twitter
LinkedIn

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand

5 คำถาม ถามใจตัวเองก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศ

ศึกษาต่อต่างประเทศทุกระดับ ฟรีทุกขั้นตอน!

5 คำถาม ถามใจตัวเองก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศ


พี่ ๆ Myadmissions มักได้ยินคำถามมากมายเกี่ยวการเรียนต่อ แต่พอถามคำถามกลับไปว่า อยากเรียนต่อคณะอะไร หรือ ทำไมถึงอยากไป ก็มักจะได้ยินคำตอบว่า “หนูยังไม่รู้เหมือนกันค่ะพี่” “แต่รู้แน่ๆ ว่าหนูต้องไปเรียนต่อค่ะ”

ดังนั้น ก่อนที่เราจะตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น พี่ ๆ Myadmissions คิดว่าเราควรจะต้องตั้งคำถามอะไรให้กับตัวเองบ้าง … พี่ ๆ เลยรวบรวม 5 คำถามให้น้อง ๆ ได้ถามใจตัวเองก่อนไปเรียนต่อกันค่ะ



1. “สาขาที่ต้องการศึกษาต่อคืออะไร จะเป็นสาขาที่ต่อยอดจากความถนัดเดิมที่เรามีอยู่ หรือจะเป็นสาขาที่เพิ่มประโยชน์ให้กับสายงานที่เราทำในปัจจุบันได้หรือไม่”

ยกตัวอย่างเช่นน้อง ๆ ที่จบสาขาทางด้านวิศวกรรมมาในตอนปริญญาตรี ก็ต้องตัดสินใจว่า เราจะเลือกไปต่อในสาขาเดิมที่เราเรียนมา หรือทำงานมา หรือว่าจะเลือกไปเรียนสาขาทางด้านการบริหารต่าง ๆ ดี


2. “ตอนนี้ถึงเวลาที่จะไปเรียนต่อหรือยังนะ”

แต่ละคนก็มีเหตุผล มีการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน น้องบางคน อาจจะคิดว่าการไปเรียนต่อเลยทันที ก็จะทำให้ไม่หมดไฟที่จะเรียนต่อในขณะนั้น ความรู้ที่มีอยู่ก็พร้อมที่จะต่อยอดเลยในทันที รวมถึงหลาย ๆ ตำแหน่งงานก็ต้องการคนที่จบปริญญาโท หรือบางครั้งทางครอบครัวก็อยากให้รีบไปเรียนต่อ ไปเอาองค์ความรู้อีกแขนง เพื่อมาพัฒนาระบบ หรือธุรกิจที่มีอยู่ของที่บ้าน แต่ในขณะเดียวกัน บางสาขาก็ต้องการคนที่มีประสบการณ์ ยกตัวอย่างเช่น MBA หรือ Master of Business Administration ที่ส่วนใหญ่นั้น ผู้เข้าเรียนต่อจำเป็นต้องมีประสบการณ์เพื่อเข้าไปใช้ในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน 


3. “น้องๆ คาดว่าการไปเรียนต่อต่างประเทศจะให้ benefit หรือผลประโยชน์กับเราได้อย่างไรบ้าง”

ข้อนี้น้องๆ ต้องประเมินตนเองว่าเราเห็นประโยชน์จากการไปเรียนต่อต่างประเทศยังไงบ้าง ประเมิณถึงผลประโยชน์ที่เราจะได้จากการไปเรียนต่อเป็นหลัก

 

4. “ภาษาอังกฤษของเรา นั้นพร้อมที่จะเข้าเรียนหรือเปล่า”

ถ้าคำตอบ ของน้องๆ นั้นบอกว่า “พร้อมค่ะ” ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วล่ะก็ ติดไฟพร้อมไปเรียนต่อได้เลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่ เรียกได้ว่ามากกว่า 70% ของนักเรียนไทย มักจะตอบว่า “ภาษาหนูก็พอได้อ่ะค่ะ แต่เวลาจะพูด มักจะพูดไม่ค่อยออกอ่ะค่ะ” หรือ “หนูฟังพูดพื้นฐานก็ได้นะพี่ แต่ว่าพอเป็นเขียนทีไรนะ เขียนไม่ออกเลยพี่ ยากชะมัด”  ถ้าคำตอบเป็นอย่างนี้แล้วล่ะก็ เราต้องทำการฝึกฝน สกิลการพูด ฟัง อ่าน เขียน ให้พร้อมสำหรับการไปเรียนต่อ รวมถึงการฝึกทำข้อสอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IELTS, TOEFL หรือว่า Pearson Test เพื่อให้คุ้นชินกับภาษาอังกฤษให้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มักจะมีคอร์สปรับพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนต่อ ให้กับนักศึกษาต่างชาติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Pre-sessional English นั่นเอง แต่การเรียนปรับพื้นฐานก็เท่ากับว่าเราจะต้องใช้เวลาที่ต่างประเทศมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน หลายครั้งนักเรียนไทย ที่ไม่ค่อยได้ภาษาเลือกไปเรียนภาษาอังกฤษที่ต่างประเทศก่อนตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาก็มีนะคะ ซึ่งประเทศที่นักเรียนสนใจมากๆ นั้นก็คือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพราะว่าสองประเทศนี้ นักเรียนสามารถที่จะทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย และการที่น้อง ๆ ได้ทำงานก็จะทำให้สามารถฝึกภาษาไปในเวลาเดียวกันค่ะ


5. ข้อสุดท้ายซึ่งถือว่าเป็นข้อที่ต้องถามตัวเองนั่นก็คือ “เราพร้อมสำหรับการลงทุนในการเรียนต่างประเทศหรือเปล่า”

เหตุผลที่ต้องถามตัวเองในข้อนี้นั้น เพราะว่าการเรียนปริญญาในต่างประเทศ มักมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงทั้งในส่วนของค่าเทอมและค่าครองชีพ หากเรามองว่าสิ่งนี้คือการลงทุน เราก็จะสามารถวางแผนได้ว่า เราจะลงทุนในส่วนนี้เท่าไหร่ และจะนำความรู้เรานั้นมาสร้าง Return on Investment ให้กับตัวเองได้อย่างไรบ้าง ซึ่งหากเรามีการวางแผนที่ดีแล้วนั้น เราจะสามารควบคุมงบประมาณให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการได้เลยค่ะ หากน้องๆ ไม่แน่ใจว่าแต่ละที่นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายอย่างไรก็สามารถติดต่อสอบถามพี่ ๆ Myadmissions ได้เลยค่ะ 

สุดท้ายนี้ ขอสรุปสั้น ๆ ว่าก่อนที่เราจะไปเรียนต่อนั้น เราต้องตั้งคำถาม 5 ข้อนี้ เพื่อให้การตัดสินใจในของเรานั้น เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ หากน้อง ๆ ไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร หรือมีคำถามเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อพี่ ๆ Myadmissions ได้ที่นี่เลยค่ะ

Facebook
Twitter
LinkedIn

โดย Natcha Tunpoprasit

Content​ Specialist​

Free Consultation

ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

Free Services

บริการช่วยเหลือ
ด้านวีซ่า ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน

Pre-departure

เตรียมตัวก่อนเดินทาง
ไปศึกษาต่อ

"Wecare"

เราพร้อมดูแล
ตลอดหลักสูตร

2nd Floor, Asoke Towers Building, 219/2 Sukhumvit 21 Rd., Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand